การให้คำปรึกษาและพัฒนากระบวนการกำกับดูแลข้อมูลองค์กร

(Data Governance Consultation & Implementation)

Source: DAMA Wheel Evolved - DAMA-DMBOK 2ND EDITION

การกำกับดูแลข้อมูล

(DATA GOVERNANCE)

การกำกับดูแลข้อมูล หมายถึง กระบวนการที่องค์กรนำมาใช้ในการจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล โดยครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดนโยบาย ขั้นตอนการทำงาน รวมถึงการกำหนดบทบาทความรับผิดชอบของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทุกระดับ เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่องค์กรมีอยู่นั้น ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน สามารถเข้าถึงได้ และมีความปลอดภัย

การกำกับดูแลข้อมูลมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้:

  • กลยุทธ์ข้อมูล: กำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายด้านข้อมูลขององค์กร
  • นโยบายและมาตรฐานข้อมูล: กำหนดนโยบายและมาตรฐานสำหรับการจัดการข้อมูลที่ชัดเจน เช่น นโยบายการรักษาความปลอดภัยข้อมูล นโยบายการเข้าถึงข้อมูล มาตรฐานการจัดการคุณภาพข้อมูล เป็นต้น
  • เจ้าของข้อมูล: มอบหมายความรับผิดชอบในการจัดการข้อมูลให้กับบุคคลหรือทีมเฉพาะ
  • ผู้ดูแลข้อมูล: ดูแลให้ข้อมูลถูกใช้งานอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายที่องค์กรกำหนด
  • ความปลอดภัยข้อมูล: ดำเนินการเพื่อป้องกันข้อมูลจากการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต การเปิดเผย การเปลี่ยนแปลง การสูญหาย หรือการทำลายข้อมูล
  • การบริหารจัดการคุณภาพข้อมูล: ดูแลให้ข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน และสอดคล้องกัน
  • การเก็บรักษาและการลบทำลายข้อมูล: กำหนดนโยบายสำหรับการเก็บรักษาและการลบทำลายข้อมูล
  • ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล: ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

การดำเนินการตามกระบวนการการกำกับดูแลข้อมูล

(DATA GOVERNANCE PROCESS IMPLEMENTATION)

การประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกระบวนการกำกับดูแลข้อมูล

(ASSESSMENT AND GAP ANALYSIS)

  • ระบุสถานะปัจจุบัน: ดำเนินการประเมินอย่างละเอียดเกี่ยวกับ
  • แนวปฏิบัติและนโยบายด้านการกำกับดูแลข้อมูลที่มีอยู่ขององค์กร
  • ประเมินความสอดคล้อง: เปรียบเทียบระหว่างสถานะปัจจุบันขององค์กรเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกระบวนการกำกับดูแลข้อมูลกับมาตรฐานและแนวทางที่กำหนดไว้ เพื่อระบุสิ่งที่ยังปฏิบัติไม่สอดคล้องหรือมีจุดอ่อน
  • จัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง: ประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติตามกระบวนการกำกับดูแลข้อมูลและจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องปรับปรุง
  • กำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์: กำหนดขอบเขต และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนสำหรับการกำกับดูแลข้อมูล เช่น การปรับปรุงคุณภาพข้อมูล การเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ และการลดความเสี่ยง
  • พัฒนานโยบาย มาตรฐาน และขั้นตอนปฏิบัติ: พัฒนานโยบาย มาตรฐานและขั้นตอนปฏิบัติที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลข้อมูล รวมถึงการจัดชั้นความลับของข้อมูล การบริหารจัดการข้อมูล คุณภาพข้อมูล การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล การเปิดเผยข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูล และการลบทำลายข้อมูล
  • กำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ: กำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลข้อมูล

การพัฒนากรอบการกำกับดูแลข้อมูล

(DEVELOP A DATA GOVERNANCE FRAMEWORK)

การควบคุมการกำกับดูแลข้อมูล

(IMPLEMENT DATA GOVERNANCE CONTROLS)

  • การจัดทำทะเบียนข้อมูลและจัดประเภทข้อมูล: จัดทำทะเบียนข้อมูลอย่างครบถ้วน และจัดประเภทข้อมูลตามระดับชั้นความลับอย่างเหมาะสม
  • การบริหารจัดการคุณภาพข้อมูล: บริหารจัดการคุณภาพข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน และสอดคล้องกัน
  • การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล: มีมาตรการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลที่เหมาะสมเพื่อจำกัดการเข้าถึงข้อมูลเฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตตามบทบาทและหน้าที่เท่านั้น
  • กำหนดนโยบายการเก็บรักษาและการลบทำลายข้อมูล: กำหนดนโยบายการเก็บรักษาและการลบทำลายข้อมูลตามข้อกำหนดทางกฎหมายและธุรกิจ
  • มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับข้อมูล: นำมาตรการทางเทคนิคมาใช้ในการปกป้องข้อมูลจากการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต การเปิดเผย การเปลี่ยนแปลง การสูญหาย หรือการทำลายข้อมูลส่วนบุคคล

การอบรมและสร้างความตระหนัก

(TRAINING AND AWARENESS)

  • การพัฒนาสื่อการฝึกอบรม: สร้างสื่อการฝึกอบรมเกี่ยวกับแนวคิดและแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านการกำกับดูแลข้อมูล
  • การจัดการฝึกอบรม: จัดอบรมให้กับพนักงานในองค์กร เพื่อเพิ่มความตระหนักเกี่ยวกับความรับผิดชอบด้านการกำกับดูแลข้อมูล
  • การฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง: จัดการฝึกอบรมและอัปเดตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พนักงานขององค์กรได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของแนวปฏิบัติและกฎระเบียบด้านการกำกับดูแลข้อมูล
  • การติดตามอย่างต่อเนื่อง: สังเกตการณ์ ตรวจสอบ หรือติดตามความคืบหน้าของการนำมาตรการกำกับดูแลข้อมูลมาใช้ในองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างดำเนินไปตามแผนที่วางไว้
  • การตรวจสอบภายใน: ดำเนินการตรวจสอบภายในเพื่อประเมินประสิทธิผลของมาตรการกำกับดูแลข้อมูล และเพื่อให้สามารถปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง
  • การรายงานผลต่อผู้บริหาร: รายงานผลการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลข้อมูลให้ผู้บริหารระดับสูงทราบอย่างสม่ำเสมอ

การติดตามและการทบทวน

(MONITORING AND REVIEW)

การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

(CONTINUOUS IMPROVEMENT)

  • ระบุสิ่งที่ต้องทำการปรับปรุง: ติดตามและตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการกำกับดูแลข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นประจำ เพื่อให้สามารถปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • ดำเนินการแก้ไข: ดำเนินการอย่างเหมาะสมในการแก้ไขข้อตรวจพบ หรือจุดที่ยังไม่ได้ปฏิบัติให้สอดคล้องกับมาตรการกำกับดูแลข้อมูลขององค์กร
  • ทบทวนและอัปเดตนโยบาย: ทบทวนและอัปเดตนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติตามมาตรการกำกับดูแลข้อมูลให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของความต้องการทางธุรกิจหรือข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy